@thapanee3miti : รอยยิ้มของนักสู้แห่งเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี "ผมก็รู้สึกใจหายที่ต้องโค่นต้นยางพาราแก่ ต้นใหญ่ต้นนี้ แต่ถ้าไม่โค่นก็ไม่สามารถปลูกยางใหม่ได้ ผมรอคอยวันนี้มา 15 ปีแล้ว หลังมีประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี ทับที่ดินทำกินที่ได้รับมรดกมาจากรุ่นทวดนับ 100 ปี หลังจากมีการพิสูจน์สิทธิ์แล้ว ผมจะนำเอกสารไปขอทุนสงเคราะห์การสวนยาง เริ่มต้นปลูกยาง เพื่อหวังว่าอีก 7 ปีกว่ายางจะโตและกรีดได้ จะมีเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย" นายมะดือเร๊ะ เยะตูแก ชาวบ้านปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เจ้าของแปลงยางพาราที่มีการโค่นต้นยางนำร่องต้นแรก ยืนยันถึงความจำเป็นในการโค่นต้นยางพารา ซึ่งเป็นการทำตามมติคณะรัฐมนตรี 14 ต.ค.2551 ที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน 9 อำเภอ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เมื่อปี 2542 มีการทับที่ดินทำกินของชาวบ้านกว่า 14,000 ราย เนื้อที่กว่า 1 แสนไร่ 15 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รวมตัวเพื่อทวงคืนสิทธิทำกิน ด้วยเหตุผลเพียงว่า พื้นที่บางแปลงที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยาน ชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ์และได้รับมรดกมาหลายรุ่น ก่อนประกาศเขตป่าสงวนเสียอีก เช่นใบเหยียบย่ำที่ดิน ที่ออกให้โดยกรมการอำเภอบาเจาะ จังหวัดสายบุรี เมื่อปี 2472 เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ชาวบ้านที่นี่ทำกินในพื้นที่เชิงเขาบูโดมายาวนาน แน่นอนเมื่อมีการประกาศเขตอุทยาน การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ป่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิทธิทำกินของชาวบ้านที่เกิดขึ้นก่อนเขตป่า กลายเป็นเส้นบางๆระหว่าง การอนุรักษ์ป่ากับ สิทธิทำกิน สำหรับคนที่ไม่มีอาชีพทำสวนยางพารา จะไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องโค่นยางแก่ !!! ในฐานะติดตามข่าวที่ดินเขาบูโด พออธิบายได้ว่า ต้นยางแก่เมื่ออายุมากไม่เกิน 25 ปี ไม่มีหน้ายางให้กรีดน้ำยางมีน้อย ก็ต้องโค่นเพื่อปลูกใหม่ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา การโค่นยางแก่ เพื่อปลูกยางใหม่ และการปลูกยาง กว่าจะโตและกรีดได้ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี และสำหรับชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีอาชีพอื่น นอกจากการทำสวนยางพารา การมีสวนยาง การกรีดยาง หมายถึงชีวิต และรายได้ของพวกเขา ถามว่า!!! สิทธิทำกินที่สูญเสียไป หากไม่เจอปัญหาแบบนี้จะไม่มีทางเข้าใจ "เราต้องการเพียงสิทธิทำกินในที่ดินเดิมที่มีมาก่อนประกาศเขตอุทยาน ไม่ได้ต้องการเอกสารสิทธิ์" เปาะจิ ดือราแม ดาราแม ปารชญ์ชาวบ้านแห่งทือกเขาบูโด กล่าวย้ำถึงแนวทางการต่อสู้ของชาวเขาบูโด ที่รักในผืนป่าบูโด จนเป็นที่มาของมติ ครม.2551 ที่ให้โค่นต้นยางเก่าร้อยละ 4 ของพื้นที่ปัญหาเท่านั้น ปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโดยังมีอีกหลายแง่มุมให้ศึกษา แล้วจะมาเล่าสู้กันฟังอีกครั้ง โพสต์เมื่อ 25 ม.ค. 2558 | 15:38 น. Instagram ดารา @thapanee3miti ฐปนีย์ เอียดศรีไชย แชร์รูปภาพอินสตาแกรมนี้ของ แยม ฐปนีย์ มี 229 คนชอบรูปนี้ รูปภาพอินสตาแกรมอื่นๆ ของ แยม ฐปนีย์ มิตรภาพพี่น้องสื่อชายแดนใต้กับพี่สาวคนเก่ง พี่แตง สำนักข่าวไทย#เทือกเขาบูโด #25-01-2015; โค่นแล้ว ต้นยางนำร่องต้นแรกในพื้นที่ทับซ้อนเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี ตามมติครม.14 ต.ค.2551 นายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอบต.ยืนยันว่า ชาวบ้านที่มีเอกสารสิทธิ์ สค.1 /นส.3./นส.3 ก./ใบเหยียบย่ำที่ดิน ก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี สามารถโค่นต้นยางเพื่อปลูกใหม่ ร้อยละ 4 ของพื้นที่ที่มีปัญหา ตามมติ ครม.14 ต.ค.2551 ได้ แต่ขอใหัรอผลการตีความการใช้อำนาจ ตาม พรบ.ศอบต.2553 ภายใน 30 วัน เนื่องจากเป็นพื้นที่พิเศษ หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนให้เป็นไปตามมติครม. ซึ่งนายกรัฐมนตรีสั่งการให้แก้ปัญหาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 นายสุพจน์ เพริดพริ้ง ผอ.สำนักอนุรักษ์ที่ 6 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยืนยันว่า ชาวบ้านที่มีเอกสารสิทธิ์และอาศัยอยู่ก่อนประกาศอุทยานสามารถทำกินในที่เดิมได้ หลังจากนี้ตัองเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ ซึ่งมีประชาชนกว่า 8,000 ราย เนื้อที่กว่า 40,000 ไร่ มีเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่อุทยานบูโด สุไหงปาดี เปาะจิ ดือราแม ดาราแม ตัวแทนชาวบ้าน ขอบคุณทุกหน่วยงานทีผลักดันให้ฝันของชาวบ้านเป็นจริง หลังรอคอยมานาน 15 ปี; เช้านี้ที่เขาบูโด 08.30 น.วันนี้ชาวบ้าน 9 อ.3จชต.จะรวมพลกันกว่า 2,000 คนเพื่อโค่นต้นยางนำร่อง ทวงสิทธิที่ดินทำกินที่มัสยิดมาแฮ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ปัญหาใหญ่ของ 3 จชต.ไม่ได้มีแค่เพียงมติความมั่นคง การก่อการร้ายแต่ยังมีความไม่เป็นธรรมในสิทธิทำกินที่ไม่ได้แก้ไขปัญหามา 15 ปีแล้ว ปฐมบทการต่อสู้ภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังในวันนี้ น่าติดตามจริงๆ#ชาวบ้านเขาบูโดทวงคืนสิทธิที่ดินทำกิน ชาวบ้านเทือกเขาบูโดเรียกร้องนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาที่ดินเขาบูโด เชื่อมั่นนี่คือการคืนความสุขที่แท้จริงให้ประชาชน ปัญหาอุทยานแห่งชาติประกาศเขตอุทยานทับที่ดินทำกินของประชาชน ปัญหาที่ชาวบ้านไม่ได้ก่อ แต่กลับต้องต่อสู้มายาวนาน 15 ปี#ความไม่เป็นธรรมของคนจน สิทธิทำกินหายไป 15 ปี ใครจะเยียวยา?? ข่าว 3 มิติ : ชาวบ้านเรียกร้องนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโด http://t.co/wwQKwkmgHF; เครือข่ายปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโดเรียกร้องนายกรัฐมนตรีช่วยหาทางออกแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี ส่งผลให้ปัญหายืดเยื้อมา 15 ปี ข่าว 3 มิติคืนนี้พาไปดูสภาพปัญหาในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี สวนยางพาราและบ้านเรือนประชาชน 124 รายได้รับผลกระทบทั้งๆที่มีโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์มาก่อนประกาศอุทยาน ชาวบ้านเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาแก้ไขเรื่องนี้ เชื่อมั่น นี่คือการคืนความสุขที่แท้จริงให้กับประชาชน ในภาพคือแผนที่ทำมือที่ชาวบ้านร่วมกันจัดทำเพื่อขอพิสูจน์สิทธิ์ โฉนดที่ดิน และทะเบียนบ้านที่ถูกประกาศให้อยู่ในเขตอุทยานจนสูญเสียสิทธิทำกินมา 15 ปีแล้ว ชาวบ้านยืนยันวันพรุ่งนี้ 09.00 น.ชาวบ้านจาก 9 อำเภอ กว่า 2,000 คน รวมพลที่มัสยิดบ้านมาแฮ ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส โค่นต้นยางพารานำร่อง ตามมติ ครม.2551; ยาวไป......; ยิ้มของเธอ ^_^น่ารัก #390 ปี#มัสยิดตะโละมาเนาะ#บาเจาะ #นราธิวาส; น้ำตกปาโจ#อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี#บาเจาะ #นราธิวาส #Pa Cho Waterfall#Narathiwat; ชีวิตทีมข่าว 3 มิติ ทำข่าว ถ่ายภาพมาทั้งวัน ตกค่ำมานั่งตัดงานส่งเนต กว่าจะเสร็จก็รายการ on air 5 ทุ่มทุกคืน # ชีวิตคนข่าว เดินทาง ตื่นเช้า เข้าพื้นที่หาข่าว ตากแดด ตากฝน อดทนนั่งรอ ข่าว ภาพ เสียง กว่าจะผลิตออกมาเป็นข่าว 1 ชิ้น ต้องผ่านอะไรมากมาย ขอบคุณพี่กร @korn3miti ป่วยก็ทน #ต้องขอบคุณมนุษย์เบื้องหลังเหล่านี้ มนุษย์เงินเดือน ที่ไม่มีค่าอ่านข่าว#เคารพทุกความสามารถ#เคารพทุกหน้าที่#วิถีคน#วีถีข่าว; ชาวบ้านเทือกเขาบูโด ยืนยัน 25 ม.ค.จะโค่นต้นยาง 1 ต้นเป็นสัญลักษณ์การปฏิบัติตามมติครม.14 ต.ค.2551 ให้โค่นยางแก่ได้ร้อยละ 4 #กรมอุทยาน ยืนยันทำได้หากเป็นแปลงที่มีเอกสารสิทธิ์ถือครองก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี #ชาวบ้านยืนยัน ทำตามกฏหมายในที่ดินทำกินเดิม ไม่บุกรุกป่าอย่างแน่นอน#ข่าว3มิติ; ก่อนอาทิตย์ลับขอบฟ้า #ปะลุกาสาเมาะ#บาเจาะ #นราธิวาส #เทือกเขาบูโด; ความเหลื่อมล้ำทางสังคม : ยาเส้น : ใบจาก : ป่า : ที่ทำกิน : เลี้ยงชีพ : คนกับป่า : สิทธิที่ทำกิน : เอกสารสิทธิ์ : ปัญหาของคนจน : วิถีของคน : วีถีข่าว #เทือกเขาบูโด#The Reporter; มื้อเที่ยงอันแสนโอชะ ซุปเครื่องใน สะเต๊ะ สลัดกุ้งกรอบ พร้อมของแถมจากเจ้าของร้านสาวงามยาโง๊ะ#ยี่งอ#นราธิวาส; นราธิวาสเช้านี้อากาศดีนะ แดดแรงแต่ลมเย็น ไม่ต่างจาก กทม.การเมืองร้อน ลมหนาวยังปกคลุม #Thailand 23-01-2015; "เปาะจิ" ดือราแม ดาราแม นักต่อสู้แห่งเทือกเขาบูโด "25 มกราคมนี้ ชาวบ้านแค่มาขอสิทธิในที่ทำกิน ไม่ได้ขอเอกสารสิทธิ์ แม้เราจะมี สค.1 ครอบครองอยู่ก่อนประกาศเขตอุทยาน " เปาะจิ ยืนยันถึงจุดยืนที่ชาวบ้านรอบเขาบูโด กว่า 2,000 คนนัดรวมตัวกันที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส วันที่ 25 มกราคมนี้ เพื่อโค่นต้นยางพารา ทวงคืนความชอบธรรมในที่ดินทำกิน นายมะดือเร๊ะ เยะตูแก ชาวบ้านมะยูง ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส และเครือข่ายที่ดินทำกินเทือกเขาบูโด นำทีมข่าว 3 มิติตรวจสอบสวนยางพาราของนายมะดือเร๊ะ ซึ่งจะเป็นแปลงที่ดินนำร่องที่จะโค่นยางพารา เพื่อยืนยันในสิทธิของชาวบ้าน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 ซึ่งเห็นชอบให้ตัดโค่นไม้ยางพาราที่หมดอายุเพื่อปลูกใหม่ทดแทนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 4 ของพื้นที่ปัญหา ชาวบ้านกว่า 2,000 คน จะขี่มอเตอร์ไซค์ 200 คัน ขึ้นมาตัดต้นยางพาราต้นนี้ต้นแรก เพื่อเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ ทวงคืนความเป็นธรรมในสิทธิที่ดินทำกิน เนื่องจากที่ดินทำกินของนายมะดือเร๊ะ จำนวน 10 ไร่ ได้รับมรดกมาจากรุ่นทวดที่ทำกินในพื้นที่อ.บาเจาะ เมื่อครั้งเป็น จ.สายบุรี และทำการปลูกยางพาราต้นนี้ในปี 2472 มีหลักฐานเป็นใบเหยียบย่ำที่ดิน ที่ออกโดย อ.บาเจาะ จ.สายบุรี เมื่อปี2472 ก่อนที่กรมที่ดินจะออกใบสิทธิการครอบครองที่ดิน หรือ สค.1 ในปี 2498 ต้นยางในที่ดินของนายมะดือเร๊ะอายุ 96 ปีแล้ว แม้ครอบครัวเคยขอทุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ แต่หลังมีประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี เมื่อปี 2542 สวนยางพาราของนายมะดือเร๊ะ และชาวบ้าน 6,985 ครัวเรือน ใน 9 อำเภอ ของ จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา เนื่อที่ 96,216 ไร่ กลายเป็นพื้นที่ป่าที่ไม่สามารถทำกินได้ ทั้งๆที่ชาวบ้านอาศัยทำดินมามาก่อนประกาศเขตป่านับ 100 ปี "ที่ดินแปลงนี้เป็นของครอบครัวตั้งแต่รุ่นทวด ก่อนจะมีป่าสงวนเสียอีก" มะดือเร๊ะ เยะตูแก ชาว อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส นายมะดือเร๊ะ ยอมรับว่าจำเป็นต้องเรียกร้องสิทธิ์เพราะที่ผ่านมาต้องไปรับจ้างกรีดยางในสวนเพื่อนบ้าน ทั้งๆที่มีสวนยางในที่ดินตัวเอง แต่ต้นยางแก่ จนไม่สามารถกรีดได้ หากการโค่นต้นยางทำได้ เขาก็คาดหวังว่า ยางพาราแปลงนี้จะเป็นเงินทุนการศึกษาให้ลูกได้เรียนมหาวิทยาลัยในอีก 7 ปีข้างหน้า; ขอบคุณน้องๆ สายบุรีลุคเกอร์ ที่มาช่วยกันเติมพลัง เราจะร่วมเดินทางไปสู้เส้นทางฝันด้วยกันแน่นอน คืนนี้กลับบ้านปลอดภัยนะทุกคน ^_^; Instagram is a registered trademark of Instagram, inc.