@thapanee3miti : รอยยิ้มของนักสู้แห่งเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี "ผมก็รู้สึกใจหายที่ต้องโค่นต้นยางพาราแก่ ต้นใหญ่ต้นนี้ แต่ถ้าไม่โค่นก็ไม่สามารถปลูกยางใหม่ได้ ผมรอคอยวันนี้มา 15 ปีแล้ว หลังมีประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด สุไหงปาดี ทับที่ดินทำกินที่ได้รับมรดกมาจากรุ่นทวดนับ 100 ปี หลังจากมีการพิสูจน์สิทธิ์แล้ว ผมจะนำเอกสารไปขอทุนสงเคราะห์การสวนยาง เริ่มต้นปลูกยาง เพื่อหวังว่าอีก 7 ปีกว่ายางจะโตและกรีดได้ จะมีเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย" นายมะดือเร๊ะ เยะตูแก ชาวบ้านปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เจ้าของแปลงยางพาราที่มีการโค่นต้นยางนำร่องต้นแรก ยืนยันถึงความจำเป็นในการโค่นต้นยางพารา ซึ่งเป็นการทำตามมติคณะรัฐมนตรี 14 ต.ค.2551 ที่แก้ปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน 9 อำเภอ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เมื่อปี 2542 มีการทับที่ดินทำกินของชาวบ้านกว่า 14,000 ราย เนื้อที่กว่า 1 แสนไร่ 15 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รวมตัวเพื่อทวงคืนสิทธิทำกิน ด้วยเหตุผลเพียงว่า พื้นที่บางแปลงที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยาน ชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ์และได้รับมรดกมาหลายรุ่น ก่อนประกาศเขตป่าสงวนเสียอีก เช่นใบเหยียบย่ำที่ดิน ที่ออกให้โดยกรมการอำเภอบาเจาะ จังหวัดสายบุรี เมื่อปี 2472 เป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ชาวบ้านที่นี่ทำกินในพื้นที่เชิงเขาบูโดมายาวนาน แน่นอนเมื่อมีการประกาศเขตอุทยาน การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ป่าเป็นสิ่งจำเป็น แต่สิทธิทำกินของชาวบ้านที่เกิดขึ้นก่อนเขตป่า กลายเป็นเส้นบางๆระหว่าง การอนุรักษ์ป่ากับ สิทธิทำกิน สำหรับคนที่ไม่มีอาชีพทำสวนยางพารา จะไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องโค่นยางแก่ !!! ในฐานะติดตามข่าวที่ดินเขาบูโด พออธิบายได้ว่า ต้นยางแก่เมื่ออายุมากไม่เกิน 25 ปี ไม่มีหน้ายางให้กรีดน้ำยางมีน้อย ก็ต้องโค่นเพื่อปลูกใหม่ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา การโค่นยางแก่ เพื่อปลูกยางใหม่ และการปลูกยาง กว่าจะโตและกรีดได้ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี และสำหรับชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีอาชีพอื่น นอกจากการทำสวนยางพารา การมีสวนยาง การกรีดยาง หมายถึงชีวิต และรายได้ของพวกเขา ถามว่า!!! สิทธิทำกินที่สูญเสียไป หากไม่เจอปัญหาแบบนี้จะไม่มีทางเข้าใจ "เราต้องการเพียงสิทธิทำกินในที่ดินเดิมที่มีมาก่อนประกาศเขตอุทยาน ไม่ได้ต้องการเอกสารสิทธิ์" เปาะจิ ดือราแม ดาราแม ปารชญ์ชาวบ้านแห่งทือกเขาบูโด กล่าวย้ำถึงแนวทางการต่อสู้ของชาวเขาบูโด ที่รักในผืนป่าบูโด จนเป็นที่มาของมติ ครม.2551 ที่ให้โค่นต้นยางเก่าร้อยละ 4 ของพื้นที่ปัญหาเท่านั้น ปัญหาที่ดินเทือกเขาบูโดยังมีอีกหลายแง่มุมให้ศึกษา แล้วจะมาเล่าสู้กันฟังอีกครั้ง
โพสต์เมื่อ 25 ม.ค. 2558 | 15:38 น.
แอพแรกที่คุณเลือก
Instagram ดารา @thapanee3miti
ฐปนีย์ เอียดศรีไชย

มี 229 คนชอบรูปนี้






รูปภาพอินสตาแกรมอื่นๆ ของ แยม ฐปนีย์

Instagram is a registered trademark of Instagram, inc.